คณะทำงาน SHAP Agent กน.กสอ. จัดฝึกอบรมการสร้างองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) ณ บริษัท ท๊อป ฟู้ด เอเชีย จำกัด
วันที่ 19 มกราคม 2567 คณะทำงาน SHAP Agent กน.กสอ. โดยมี SHAP AGENTS กน.กสอ. ได้แก่ นาย ภัทราวุธ วันเพ็ญ นายช่างเทคนิคอาวุโส นางสาวณัฐพัสวี พจน์ประสาท เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานการพัฒนาอุตสาหกรรม นางสาวกมลวรรณ ไชยมงคล นักวิชาการอุตสาหกรรม และผู้บริหารผู้แทนสถานประกอบการ บริษัท ท๊อป ฟู้ด เอเชีย จำกัด จัดฝึกอบรมการสร้างองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) ณ บริษัท ท๊อป ฟู้ด เอเชีย จำกัด ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิวขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งองค์กรแห่งความสุข โดยได้รับเกียรติจาก นายวินัยศักดิ์ เหมืองทอง ผู้จัดการโครงการ SHAP เป็นวิทยากรมาบรรยาย Happy 8 ความสุขทั้ง 8 นวัตกรรมสร้างสุข พร้อม Workshop การออกแบบองค์กรแห่งความสุข เขียนโครงการสร้างสุข บรรยาย Happy-meter พร้อมผลการสำรวจค่าความสุขขององค์กร ทำกิจกรรมละลายพฤติกรรมคนในองค์กร และแนะนำการทำโครงการและแผนสร้างสุของค์กรตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 45 คน
19 ม.ค. 2567
ผอ.กน.กสอ. ร่วมหารือกับทีมงาน Toyota และสํารวจพื้นที่ในการเตรียมจัดงานลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง ดีพร้อม กับ โตโยต้า
วันที่ 17 มกราคม 2567 ณ Toyota Alive บางนา กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นําโดย นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อํานวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ร่วมหารือกับทีมงาน Toyota และสํารวจพื้นที่ในการเตรียมจัดงานลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง ดีพร้อม กับ โตโยต้า ที่จะเกิดขึ้นภายในวันที่ 30 มกราคม 2567 นี้
17 ม.ค. 2567
ผอ.กน.กสอ. เป็นประธานในการกล่าวเปิดอบรมยกระดับสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติผ่านกลไกความร่วมมือ Global Player ให้ดีพร้อม ณ Toyota Alive บางนา
วันที่ 17 มกราคม 2567 กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมมือกับ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จํากัด จัดกิจกรรมยกระดับสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติผ่านกลไกความร่วมมือ Global Player ให้ดีพร้อม ณ Toyota Alive บางนา โดยได้รับเกียรติจาก นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อํานวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นประธานในการกล่าวเปิดอบรม โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนาจํานวน 40 คน จาก 13 กิจการ ให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานภายในโรงงานโตโยต้า เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการผลิตของทางสถานประกอบการเพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานและการจัดซื้อนวัตกรรม รวมทั้งเป็นการฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหาของบุคลากร โดยกําหนดการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการระหว่างวันที่ 17-18 มกราคม 2567 ณ Toyota Alive บางนา และการทัศนศึกษาดูระบบ Karakuri ในวันที่ 19 มกราคม 2567 ณ โรงงานโตโยต้าบ้านโพธิ์ และภายหลังจากนี้จะมีการให้คําปรึกษาแนะนําเชิงลึกด้าน Low Cost Automation โดยผู้เชี่ยวชาญจากโตโยต้า ณ สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการต่อไป
17 ม.ค. 2567
ผอ.กน.กสอ. เป็นประธานในการกล่าวเปิดอบรมหลักสูตร LIPE (LEAN IoT Plant Management And Execution) Development ณ สถาบันไทย-เยอรมัน ศูนย์กรุงเทพฯ (กล้วยน้ำไท)
วันที่ 10 มกราคม 2567 กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดอบรมหลักสูตร LIPE (LEAN IoT Plant Management And Execution) Development ณ สถาบันไทย-เยอรมัน ศูนย์กรุงเทพฯ (กล้วยน้ำไท) ได้รับเกียรติจาก นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อํานวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นประธานในการกล่าวเปิดอบรม โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจํานวน 30 คน เป็นการนําระบบ IoT เพื่อการบริหารจัดการภายในสถานประกอบการและสายการผลิตมาประยุกต์ใช้กับ LEAN MANAGEMENT เพื่อบริหารจัดการในรูปแบบ LEAN Manufacturing และ Total Product Maintenance โดยกําหนดการฝึกอบรมทฤษฎีเชิงปฏิบัติการรวม 8 วัน ระหว่าง วันที่ 10-12, 17-19, 25-26 มกราคม 2567
10 ม.ค. 2567
คณะทำงาน SHAP Agent กน.กสอ. ลงพื้นที่เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับโครงการ SHAP ณ บริษัท อีสเทิร์น ไทย คอนซัลติ้ง 1992 จำกัด
วันที่ 8 มกราคม 2567 คณะทำงาน SHAP Agent กน.กสอ. โดยมี SHAP AGENTS กน.กสอ. ได้แก่ นาย ภัทราวุธ วันเพ็ญ นายช่างเทคนิคอาวุโส นางสาวณัฐพัสวี พจน์ประสาท เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานการพัฒนาอุตสาหกรรม นางสาว อภิญญา แตงศรีนวล เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานการพัฒนาอุตสาหกรรม นางสาวกมลวรรณ ไชยมงคล นักวิชาการอุตสาหกรรม ผู้แทนสถานประกอบการ บริษัท อีสเทิร์น ไทย คอนซัลติ้ง 1992 จำกัด ลงพื้นที่เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) โดยชี้แจง กรอบเวลา ตัวชี้วัด การประเมินผลิตภาพ การเก็บข้อมูลวัดความสุข (Pre Happy-meter) ของพนักงานในสถานประกอบการ แนวคิดและสมการ “Happy Workplace คนสำราญงานสำเร็จ” บันไดสร้างสุข 9 ขั้น เพื่อนำไปสู่องค์กรแห่งความสุข Happy 8 ความสุขทั้ง 8 ประการพร้อม Case Study และทำ Work Shop ความสำเร็จของกิจการที่ผ่านมา การประกวดองค์กรต้นแบบ การสนับสนุนจากหน่วยงานเครือข่ายต่าง ๆ มอบสื่อสร้างสุข แชร์เอ็กเซอร์ไซส์ ออกกำลังกาย Happy Body และแบ่งทีมงานรับผิดชอบ ความสุข Happy 8+1 โดยมีตัวแทนพนักงานเข้าร่วมทั้งสิ้น 20 คน
08 ม.ค. 2567
ผอ.กน.กสอ. ให้เกียรติเป็นประธานในการกล่าวเปิดอบรมหลักสูตร Smart Monodzukuri
วันที่ 8 มกราคม 2567 กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดอบรมหลักสูตร Smart Monodzukuri ณ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ซอยพัฒนาการ 18 โดยนายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อํานวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการกล่าวเปิดอบรมและได้รับเกียรติจาก MR. Joji Tateishi, Mr.Yoshito Nishimaki จาก AOTS และ ดร.สุพจน์ ชินวีระพันธ์ ผู้อํานวยการสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ร่วมพิธีเปิดการอบรมโดยมีผู้เข้าร่วมอบรม จํานวน 40 คน เพื่อยกระดับการสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์และกระบวนการทํางานด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้พนักงานทํางานแบบ “Work Smart” ส่งผลให้ผลิตภาพเพิ่มขึ้น ลดความสูญเปล่า และลดต้นทุนได้อย่างคุ้มค่า ถือเป็นการสร้างกลไกใหม่ ๆ ที่เป็นการปฏิรูป “ระบบประสาท” ของกิจกรรมการบริหารธุรกิจด้วยดิจิตอล โดยกําหนดการฝึกอบรมทฤษฎีเชิงปฏิบัติการรวม 8 วัน ระหว่างวันที่ 8-11, 15-16, 23-24 มกราคม 2567
08 ม.ค. 2567
ผอ.กน.กสอ. มอบหมายให้ นายทวีศักดิ์ วิวัฒวิทยาวงศ์ และ นายพนม สุหา ลงพื้นที่เข้าวินิจฉัยเบื้องต้น บริษัท ฟิวเจอร์ แพค จํากัด และ บริษัท โพลี กรีน จํากัด
วันที่ 8 มกราคม 2567 กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อํานวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้มอบหมาย นายทวีศักดิ์ วิวัฒวิทยาวงศ์ วิศวกรชํานาญการพิเศษ นายพนม สุหา วิศวกรชํานาญการพิเศษ และเจ้าหน้าที่ กน.กสอ. ลงพื้นที่เข้าวินิจฉัยเบื้องต้นด้านการพัฒนากระบวนการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ ได้แก่ บริษัท ฟิวเจอร์ แพค จํากัด และ บริษัท โพลี กรีน จํากัด จังหวัดสมุทรปราการ ในเบื้องต้นได้ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบการผลิตอัตโนมัติกระบวนการตรวจสอบฝุ่นในการรีดแผ่นพลาสติกซึ่งปัจจุบันมีปัญหาเรื่องสิ่งแปลกปลอม จึงจําเป็นต้องมีพนักงานคอยตรวจสอบตลอดเวลาทํางาน 1 คน ต่อ 1 ไลน์การผลิต หากมีการพัฒนาระบบ Visual Inspection ในการตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมแบบอัตโนมัติจะสามารถลดจํานวนคนงานตรวจสอบและลดความสูญเสียจากการผลิตของเสียลงได้ ทางผู้ประกอบการจะขอนําแนวคิดและวิธีการปรับปรุงกระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติเสนอทางผู้บริหารต่อไป
08 ม.ค. 2567
"ดีพร้อม" ทดสอบการใช้งานต้นแบบเรือไฟฟ้า ส่งเสริมการท่องเที่ยวริมน้ำปากพูน เมืองคอน
นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริม อุตสาหกรรม นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อํานวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่ตําบลปากพูน อําเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อร่วมทดสอบการใช้งานต้นแบบเรือไฟฟ้าในพื้นที่ตําบลปากพูน ซึ่งคนในชุมชนมีความต้องการที่จะนําเรือไฟฟ้ามาใช้เพื่อช่วยลดต้นทุน ส่งเสริมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดมลพิษและมลภาวะทางเสียง และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในพื้นที่ชุมชน นอกจากนี้ยังช่วยสร้างประสบการณ์การเดินทางบนนวัตกรรมที่นําสมัยให้กับเมืองคอนอีกด้วย
12 ธ.ค. 2566
“กน.” จัดทัพบุกเมืองคอนเต็มสูบ เสริมแกร่งยานยนต์ไฟฟ้า
นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อํานวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายชัยรัตน์ แก้วด้วง ผู้อํานวยการกลุ่มส่งเสริมนวัตกรรมอุตสาหกรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) หารือแนวทางการใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและสร้างความเข็มแข็งให้กับซัพพลายเชนในพื้นที่ร่วมกับสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการที่เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ในพื้นที่ ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช ห้างหุ้นส่วนจํากัดกบเซอร์วิส อีกทั้งยังหาแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของยานยนต์ไฟฟ้าพื้นที่นครศรีธรรมราชในระยะยาว
01 ธ.ค. 2566
“กน.” เร่งเครื่องสํารวจปากน้ำสิชล ผลักดันการท่องเที่ยวด้วยเรือไฟฟ้า
นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อํานวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายชัยรัตน์ แก้วด้วง ผู้อํานวยการกลุ่มส่งเสริมนวัตกรรมอุตสาหกรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) สํารวจพื้นที่ปากน้ำสิชล อําเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเรือไฟฟ้าหรือประยุกต์ใช้พลังงานไฟฟ้ากับเรือชุมชนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในปากน้ำสิชลซึ่งเป็นปากแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางสัญจรผ่านเข้าออกสู่ทะเล การผลักดันชุมชนให้หันมาใช้เรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (EV) ทดแทนการใช้น้ำมันจะช่วยลดปัญหาเรื่องเสียงของเครื่องยนต์ซึ่งมีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม และลดปัญหามลภาวะทางอากาศที่เกิดจากท่อไอเสียของเครื่องยนต์ การนำเรือไฟฟ้ามาปรับใช้นับเป็นความก้าวหน้าสําคัญของการเปลี่ยนผ่านคมนาคมทางน้ำของไทย นอกจากนี้การลดมลภาวะทางด้านเสียงช่วยให้การท่องเที่ยวเพลิดเพลินยิ่งขึ้น
01 ธ.ค. 2566