กิจกรรมสืบสานประเพณีไทย "วันสงกรานต์" ประจำปี พ.ศ 2568
นายมนตรี วงศ์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้นำเจ้าหน้าที่กน.กสอ. ดำเนินการขับเคลื่อนองค์กรคุณธรรมร่วมสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมไทยในกิจกรรมสืบสานประเพณีไทย "วันสงกรานต์" ประจำปี พ.ศ 2568 ณ อาคาร กน.กสอ. ชั้น 1 เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม และปลูกฝังค่านิยมให้เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานให้รู้รักสามัคคี
11 เม.ย. 2568
กน.กสอ. ดีพร้อม" ผลักดันผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์สู่การใช้งานในโรงพยาบาล พร้อมยกระดับการพัฒนาเครือข่ายอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม "ดีพร้อม" ผลักดันผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์สู่การใช้งานในโรงพยาบาล พร้อมยกระดับการพัฒนาเครือข่ายอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ขอนแก่น วันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2568 - นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมพิธีเปิดศูนย์ห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบภายใต้มาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 และร่วมเป็นสักขีพยานพิธีลงนามความร่วมมือด้านวิชาการและงานสนับสนุนทางการแพทย์ของเครือข่ายอุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ โดยมี นายศิริวัฒน์ พินิจพานิชย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานในพิธี รศ.นพ.ภัทรพงษ์ มกรเวส ประธานมูลนิธิคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมเป็นสักขีพยาน การลงนามความร่วมมือฯ ของเครือข่ายอุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท เมดิคอลฟาซิลิตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (Medfa) ภายใต้มูลนิธิคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น มูลนิธิฟ้าหลังฝน บริษัท IMC จำกัด และบริษัท กลอรี่ เอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมลงนามความร่วมมือด้านวิชาการ งานวิจัย และงานสนับสนุนทางการแพทย์ ณ ห้องประชุมรับขวัญ ช้ัน 3 โรงแรมบายาสิตา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้งนี้ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และมูลนิธิคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มอบผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ ประกอบด้วย โปรแกรมบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ โปรแกรมบริหารจัดการระบบขนส่งภายในโรงพยาบาลทั้งระบบ ตลอดจนอุปกรณ์จัดสภาพแวดล้อมสำหรับประเมินคุณภาพแผ่นรับภาพรังสีดิจิทัล (X-ray) ให้แก่ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต (RSU) มูลนิธิฟ้าหลังฝน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น นำไปขยายผลและทดสอบใช้งานจริง สำหรับการศึกษา การวิจัยและพัฒนาต่อยอด รวมไปถึงการประยุกต์ใช้ในสถานบริการทางการแพทย์และการบริการผู้ป่วยที่พำนักที่บ้าน สอดรับต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ระบบบริการสุขภาพของประเทศโดยกิจกรรมดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ไทยในการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมบริการสุขภาพให้ทัดเทียมนานาชาติ และถือเป็นการสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เพื่อผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการแพทย์ของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ดูข้อมูลเชิงลึก โปรโมทโพสต์ ความรู้สึกทั้งหมด 88
04 เม.ย. 2568
“พิธีเปิดกิจกรรมสร้างการรับรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการ System Integrator ”
“พิธีเปิดกิจกรรมสร้างการรับรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการ System Integrator ” นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมการสร้างการรับรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการ System Integrator โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 50 คน ณ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันไทย-เยอรมัน ชั้น 2 ห้องสัมมนา B212ในการดำเนินกิจกรรมข้างต้น กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้เห็นถึงความสำคัญของเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (CoRE) จึงได้มีแนวคิดดำเนินกิจกรรมเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ System Integrator เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการด้านเครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เห็นความสำคัญ สิทธิประโยชน์และเตรียมความพร้อม ในการขึ้นทะเบียนสถานประกอบการด้าน System Integrator เพื่อรับรองผู้ประกอบการเครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ของอุตสาหกรรมในอนาคตที่กำลังจะเพิ่มสูงขึ้นและเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างผู้ประกอบการ SI หน่วยงานรัฐ และภาคอุตสาหกรรม ขึ้นทะเบียนสถานประกอบการ ด้านเครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ซึ่งเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตามมาตรการพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ได้มีการกำหนดแนวทางส่งเสริมการผลิตและการใช้งานหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและความต้องการของตลาดโลก +13 ดูข้อมูลเชิงลึก โปรโมทโพสต์ ความรู้สึกทั้งหมด 10คุณ และ คนอื่นๆ อีก 9 คน
04 เม.ย. 2568
คณะทำงาน SHAP Agent กน.กสอ. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ลด ละ เลิก บุหรี่ ชีวีมีสุข”
นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มอบหมายให้ คณะทำงาน SHAP Agent กน.กสอ. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ลด ละ เลิก บุหรี่ ชีวีมีสุข” กิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs and Productive workplace : SHAP) ณ บริษัท ฝาจีบ จำกัด (มหาชน) จังหวัดปทุมธานี วัตถุประสงค์การอบรมในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมตระหนักถึงความสำคัญของการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
28 มี.ค. 2568
พิธีเปิด การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “พัฒนาทักษะและสมรรถนะ ด้านความปลอดภัยในงานสนับสนุนบริการสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างความพร้อมของผู้ประกอบการในธุรกิจบริการสุขภาพด้าน Wellness และการดูแลผู้สูงอายุ รุ่นที่ 2”
วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม 2568 จังหวัดกรุงเทพมหานคร นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “พัฒนาทักษะและสมรรถนะ ด้านความปลอดภัยในงานสนับสนุนบริการสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างความพร้อมของผู้ประกอบการในธุรกิจบริการสุขภาพด้าน Wellness และการดูแลผู้สูงอายุ รุ่นที่ 2” ภายใต้กิจกรรมยกระดับทักษะและองค์ความรู้บุคลากรรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมทางการแพทย์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 - 28 มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุม Ballroom C ชั้น 2 โรงแรมมารวยการ์เด้น จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยการจัดกิจกรรมดังกล่าว ประกอบด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะและสมรรถนะบุคลากร มุ่งเน้นการส่งเสริมด้านองค์ความรู้และทักษะให้กับผู้ปฏิบัติงานสามารถเพิ่มศักยภาพและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ และสามารถนำองค์ความรู้และความสามารถไปต่อยอดการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยสนับสนุนการบริการสุขภาพด้าน Wellness และการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งนี้ การฝึกอบรมในวันนี้มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 40 คน จากภาครัฐและภาคเอกชนในอุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย
24 มี.ค. 2568
เข้าร่วมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์จากการต่อยอดงานวิจัย เชื่อมโยงอุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์
นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาสันต์ วิชิตอมรพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์จากการต่อยอดงานวิจัย เชื่อมโยงอุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ ภายใต้โครงการการพัฒนาและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ ณ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย มีคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้ประกอบการ ที่เข้าร่วมโครงการเป็นผู้นำเสนอต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่ผ่านการพัฒนาจากการเข้าร่วมกิจกรรมฯ ดังกล่าว ได้แก่ 1. อุปกรณ์ดูดละอองฝอยในช่องปาก (Intra oral suction) ด้วยการออกแบบเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ 2. ผ้าห่มควบคุมอุณหภูมิ สำหรับผู้บาดเจ็บไขสันหลังที่ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายได้ 3. ถุงซึมซับน้ำปัสสาวะเพศชายสำหรับผู้ป่วยติดเตียง การติดตามในครั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมฯ ในการพัฒนาหรือต่อยอดเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้สามารถผลิตในระดับอุตสาหกรรม และออกสู่เชิงพาณิชย์ได้ พร้อมทั้งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต
22 มี.ค. 2568
กน.กสอ. ให้การต้อนรับ Mr. MIKI Takatoshi , Director General International Project Dept. From New Energy and Industrial Technology Development Organization (NEDO) และคณะเจ้าหน้าที่จาก NEDO ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย
นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับ Mr. MIKI Takatoshi , Director General International Project Dept. From New Energy and Industrial Technology Development Organization (NEDO) และคณะเจ้าหน้าที่จาก NEDO ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย โดยร่วมกันหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานที่จะพัฒนาประสิทธิภาพของรถไฟฟ้า EV Bike ในประเทศไทย ให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือจากทั้ง 2 ฝ่าย ในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งแผนการในอนาคตจะมีความร่วมมือต่อยอดในด้านต่างๆ เช่น การถ่ายทอดองค์ความรู้ การพัฒนาสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ทั้งนี้ DIPROM ได้เสนอความเห็น ต่อการดำเนินการดังกล่าว และเตรียมนำหารือแก่คณะผู้บริหารระดับสูงต่อไป การหารือในครั้งนี้จัดขึ้น ณ ห้องประชุม 302 ชั้น 3 อาคารกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (กล้วยน้ำไท)
19 มี.ค. 2568
กล่าวแสดงความยินดี ต่อโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขาการจัดการอุตสาหกรรม อาชีพนักพัฒนาผลิตภาพ
นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กล่าวแสดงความยินดี ต่อโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขาการจัดการอุตสาหกรรม อาชีพนักพัฒนาผลิตภาพ โดยมี Mr. Joji Teteshi, Senior Manging Director of AOTS รศ.ดร. รังสรรค์ เลิศในสัตย์ อธิการบดี สถาบันไทย-ญี่ปุ่น ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ เลขาธิการ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) คุณเอมิกา บุญกัน ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) กล่าวถึงความสำคัญและแนวทางในการดำเนินโครงการฯ พร้อมด้วยผู้บริหารหน่วยงานพันธมิตรจากทั้งภาครัฐและเอกชน ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงทพฯ เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการผลิตภาพ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจ และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจให้องค์กรก้าวสู่เป้าหมายอย่างยั่งยืน โครงการนี้จึงได้ความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตร เช่น กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (METI) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หน่วยงาน AOTS สถาบันไทย-ญี่ปุ่น สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ในการส่งเสริมและสร้างมาตรฐานด้านคุณวุฒิวิชาชีพใหม่ๆ ที่มีความสำคัญในอนาคต +3 ดูข้อมูลเชิงลึก โปรโมทโพสต์ ความรู้สึกทั้งหมด 1010
19 มี.ค. 2568
เข้าร่วมประชุมระดมสมอง (Focus Group) ผู้ประกอบการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
วันพุธที่ 19 มีนาคม​ 2568 นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ​ ผู้​อำนวยการ​กองพัฒนา​นวัตกรรม​และ​เทคโนโลยี​อุตสาหกรรม​ มอบหมายให้ นายกำชัย ไทยไชยนต์ วิศวกรชำนาญการพิเศษ และเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมนวัตกรรมอุตสาหกรรม ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีไทย - ญี่ปุ่น เข้าร่วมประชุมระดมสมอง (Focus Group) ผู้ประกอบการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 30 คน วัตถุประสงค์การประชุมในครั้งนี้ เพื่อยกระดับพัฒนาศักยภาพและสร้างความพร้อมให้แก่สถานประกอบการ ผู้ประกอบการและบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ให้สามารถปรับเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่รองรับการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก +2 ดูข้อมูลเชิงลึก โปรโมทโพสต์ ความรู้สึกทั้งหมด 1212
19 มี.ค. 2568
พิธีเปิด การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “สร้างทักษะการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องมือทางการแพทย์ที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืน”
วันที่ 17 มีนาคม 2568 นนทบุรี นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “สร้างทักษะการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องมือทางการแพทย์ที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืน” ภายใต้โครงการ การพัฒนาและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ ระหว่างวันที่ 17 - 21 มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุม Amber 1 ชั้น 5 โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น จ.นนทบุรี โดยการจัดกิจกรรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและยกระดับบุคลากร (Upskill) ทักษะและความสามารถในการปรับปรุงและฟื้นฟูเครื่องมือแพทย์ (Retrofit & Refurbish) สามารถที่จะต่อยอดองค์ความรู้ในการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดและลดปัญหาขยะอุตสาหกรรมที่อาจเกิดขึ้นต่อไป การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการประกอบด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมุ่งเน้นทักษะและความรู้ในการทดสอบและสอบเทียบเครื่องมือแพทย์ ข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้า หลักการองค์ประกอบ การติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ ทั้งนี้การฝึกอบรมในวันนี้มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 50 คน จากภาครัฐและภาคเอกชนในอุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์
17 มี.ค. 2568