ติดตามกิจกรรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการนำระบบการผลิตแบบโตโยต้าและโตโยต้าคาราคุริไคเซ็น
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 นายบรรเทา ว่องประชานุกูล นายช่างเทคนิคอาวุโส และ นายอนุพงศ์ มานะชัยชนะ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากศูนย์งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่2 ได้เข้าติดตามกิจกรรมพร้อมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำในการนำระบบการผลิตแบบโตโยต้าและโตโยต้าคาราคุริไคเซ็น แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดชั้สุพัฒน์ รุ่งเรือง ซึ่งทางสถานประกอบการได้นำความรู้จากการอบรมในหัวข้อดังกล่าวมาทำกิจกรรมจนสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยการจัดให้มีกิจกรรมประกวดแนวคิดการนำแนวคิดคาราคุริไคเซ็นมาใช้ โดยมีรางวัลให้แก่ทีมชนะเลิศ เป็นเงิน 10,000 บาท และ รองชนะเลิศ 5,000 บาท โดยทางสถานประกอบการได้ให้เกียรติทาง กสอ.เป็นผู้มอบรางวัลรองชนะเลิศ แก่ทีมที่ได้รางวัลดังกล่าว โดยมีแนวคิด การปรับปรุงรางเลื่อนส่งวัตถุดิบในการผลิต หนัก 70 ก.ก. โดยไม่ต้องใช้คนเข็นไปตามราง โดยใช้หลักการพื้นเอียงโดยปรับให้มีมุมเอียงเกิดขึ้นประมาณ 5 องศา จากแนวระนาบ ทำให้การขนส่งวัตถุดิบเลื่อนไหลตามแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้สามารถลดงานในด้านการขนส่งสิ่งเป็นงานที่ไม่จำเป็นลงและลดความเสี่ยงของพนักงานที่อาจบาดเจ็บจากการทำงานลงได้ ในการนี้ เจ้าหน้าที่ กน.กสอ.ได้นำเสนอวิธีคำนวณในการคำนวณมูลค่าจากการลดเวลาในกระบวนการนี้ลงด้วย นอกจากนี้ทีมชนะเลิศได้เสนอแนวคิดในการปรับปรุงสายการผลิตโดยการใช้หลักพื้นเอียงผสมผสานกับคานยก ซึ่งสามารถทำให้กระบวนการผลิตสามารถลดเวลาการผลิตได้ 96 นาที ต่อวันซึ่งสามารถทำให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีกวันละ 760 ก.ก.ต่อวันหรือปีละ 228 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,280,000 บาทต่อปี โดยคาดว่าใช้เงินลงทุนในการปรับปรุงประมาณ 60,000 - 100,000 บาท ซึ่งแนวคิดนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานและขอคำปรึกษาแนะนำในเชิงเทคนิคเพิ่มเติม
06 ก.พ. 2563
อบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร Data Collection and Data Analytics For Productivity Improvement
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 นายชัยรัตน์ แก้วด้วง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมนวัตกรรมอุตสาหกรรม กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร Data Collection and Data Analytics For Productivity Improvement ภายใต้โครงการ 7.1-1 การพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ หลักการทฤษฏีเชิงปฏิบัติการเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการสร้างระบบการจัดเก็บวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงงาน ณ โรงแรม The Journey Hotel Bang สมุทรปราการ
04 ก.พ. 2563
Train the Trainers เพื่อเตรียมพร้อมวิทยากรสำหรับการจัดการฝึกอบรมเชิงลึกด้านการจัดการพลังงาน (User Training)
วันที่ 29 มกราคม 2563 กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ร่วมกับ UNIDO จัดฝึกอบรมวิทยากร หลักสูตร Train the Trainers เพื่อเตรียมพร้อมวิทยากรสำหรับการจัดการฝึกอบรมเชิงลึกด้านการจัดการพลังงาน (User Training) ณ โรงแรมแกรนด์ เซ็นเตอร์พ้อยต์ เพลินจิต กรุงเทพฯ ในการนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.สมชัย เดชาพานิชกุล ผู้เชี่ยวชาญ UNIDO เป็นวิทยากรหลัก ดร.มัชฌิมา ทองเดชศรี เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ UNIDO ให้ข้อมูลแนวทางการดำเนินงาน และนายเกรียงยุทธ ผิวอ่อน วิศวกรชำนาญการพิเศษ กน.กสอ. ร่วมการฝึกอบรม โดยมีผู้เชี่ยวชาญ UNIDO National Expert จำนวน 13 ท่านเข้าร่วมการฝึกอบรม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเสนอแนะเกี่ยวกับเนื้อหาการฝึกอบรมจากประสบการณ์การดำเนินการจริงในโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Greening Industry through Low Carbon Technology Application for SMEs ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) ในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ลดการปลดปล่อยคาร์บอนสำหรับ SMEs
31 ม.ค. 2563
The Third Country Training Programme on skill Development for Material Processing for Makong Countries
วันที่ 29 มกราคม 2563 นายเจตนิพิจ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการจัดอบรมหลักสูตร " The Third Country Training Programme on skill Development for Material Processing for Makong Countries " โดยมี นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย รก.วิศวกรเชี่ยวชาญ ผู้แทน กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และ Mr.Keiichiro Yuasa (เคอิจิโร่ ยุอะสะ) Senior Representative ให้การต้อนรับและกล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดฝึกอบรม ณ ห้องสัมมนา ชั้น 2 โรงแรมจัสมิน แกรนด์ เรสซิเดนท์ พระรามที่4 กล้วยน้ำไท โดยมีหลักสูตร CNC cutting machine, LASI, Mould technology มีเป้าหมายเพื่อการช่วยเสริมสร้างทรรศนะคติที่ดีต่อไทยให้กับประเทศ CLMV ในกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน (AEC) กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิชาการในครั้งนี้มีประเทศที่เข้าร่วม ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม -14 กุมภาพันธ์ 2563
30 ม.ค. 2563
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การรักษามาตรฐานการผลิตและคุณภาพด้วย FMEAs และ Control Plan”
วันที่ 29 มกราคม 2563 เวลา นายเกรียงยุทธ ผิวอ่อน วิศวกรชำนาญการพิเศษ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การรักษามาตรฐานการผลิตและคุณภาพด้วย FMEAs และ Control Plan” ระหว่างวันที่ 29 – 31 มกราคม 2563 ณ ห้องเบธเลเฮ็ม ชั้น ๒ โรงแรม เอวาน่า กรุงเทพฯ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับFMEAs และ Control Plan ให้สามารถนำไปใช้ในปฏิบัติงานได้จริง สอดคล้องกับระบบมาตรฐานและระบบการบริหารงานคุณภาพ เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในองค์กร ทั้งนี้มีบุคลากรในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้กว่า 70 คน
29 ม.ค. 2563
สัมมนาเชิงวิชาการเพื่อการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ​ Smart​ Farm​ ภายใต้​ "กิจกรรมพัฒนาต้นแบบเกษตรอุตสาหกรรมดิจิทัล​ Smart​ Farm​ "
24 ม.ค 63 นายกิตติโชติ ศุภกำเนิด วิศวกรชำนาญการพิเศษ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนาเชิงวิชาการเพื่อการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ Smart Farm ภายใต้ "กิจกรรมพัฒนาต้นแบบเกษตรอุตสาหกรรมดิจิทัล Smart Farm " ที่ได้ดำเนินกิจกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ ห้องประชุมโรงแรมวังใต้ จ.สุราษฎร์ธานี ภายในงานได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเข้าร่วมมากกว่า 11 สถานประกอบการ ซึ่งในการจัดสัมมนาครั้งนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับ เรื่อง การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยในกระบวนการผลิตทางการเกษตร เพิ่มปริมาณผลผลิตที่มีคุณภาพ คุ้มค่าต่อการลงทุน นำไปสู่การเกษตรที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งยกระดับการเกษตรของไทยให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนพัฒนาไปสู่การเป็นเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farmers) ที่มีความสามารถจนเป็นผู้จัดการฟาร์มมืออาชีพที่ประสบผลสำเร็จได้
24 ม.ค. 2563
การบรรยายและอภิปรายหัวข้อ "ทิศทางของคุณภาพด้านการให้บริการสุขภาพสากลพร้อมกับความก้าวหน้าของระบบ Smart Technology"
วันที่ 21 มกราคม 2563 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จัดการบรรยายและอภิปรายหัวข้อ "ทิศทางของคุณภาพด้านการให้บริการสุขภาพสากลพร้อมกับความก้าวหน้าของระบบ Smart Technology" โดยได้รับเกียรติจากทีมอาจารย์มหาวิทยาลัยรังสิตนำโดย รศ.นันทชัย ทองแป้น คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานบริการสุขภาพสากล เภสัชกร พงษ์พันธุ์ ตาทิพย์การบรรยายและอภิปรายหัวข้อดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและผลักดันการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้ด้านกฎหมายและมาตรฐานบริหารสุขภาพในระดับสากล มาประยุกต์ใช้ให้เกิดนวัตกรรมการแพทย์ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกันและแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการแพทย์ที่ตรงกับความต้องการจากสหวิชาชีพทางการแพทย์ นักวิชาการ ผู้ประกอบการรวมถึงผู้ใช้งานการบรรยายและอภิปรายฯได้รับความสนใจจากทั้งบุคลากรในโรงพยาบาล อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้วิจัย ผู้ประกอบการและนักศึกษากว่า 100 คน
22 ม.ค. 2563
หารือ แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมหิดลนำเสนอเกี่ยวกับ “สภาความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์แห่งประเทศไทย” (The Medical Products Consortium of Thailand: MPCT)
วันที่ 21 มกราคม 2563 นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ เข้าหารือร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูล คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมหิดลนำเสนอเกี่ยวกับ “สภาความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์แห่งประเทศไทย” (The Medical Products Consortium of Thailand: MPCT) ที่มีความร่วมมือกันทั้งหน่วยงานภาครัฐ สถาบันทางวิชาการและวิชาชีพ แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาทางวิชาการ หน่วยตรวจวิเคราะห์ หน่วยพัฒนางานมาตรฐาน และหน่วยสนับสนุนเชิงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะเข้าไปขับเคลื่อนในส่วนของการพัฒนาสถานประกอบการเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ให้เกิดเป็นรูปธรรม
22 ม.ค. 2563
ประชุมแนวทางพัฒนาระบบขนถ่ายวัสดุในสถานพยาบาลด้วยระบบลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ (AGV) ในสถานพยาบาล
วันที่ 16 มกราคม 2563 กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โดยนายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย วิศวกรเชี่ยวชาญและนายชัยรัตน์ แก้วด้วง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมนวัตกรรม ได้เข้าร่วมประชุมแนวทางพัฒนาระบบขนถ่ายวัสดุในสถานพยาบาลด้วยระบบลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ (AGV) ในสถานพยาบาล ณ โรงพยาบาลราชวิถี โดยมีนายแพทย์ ไพโรจน์ เครือกาญจนา รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวต้อนรับ ณ ห้องประชุมราชวิถี ชั้น 11 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ โรงพยาบาลราชวิถี พร้อมทั้งเข้าเยียมชมอาคารศูนย์การแพทย์ ชั้น 12 สถานที่จะใช้ในการตั้งศูนย์ห้องทดสอบปฏิบัติการ ซึ่งมีแผนในการพัฒนาเป็นเศูนย์ห้องทดสอบปฏิบัติการอัตโนมัติต่อไป
20 ม.ค. 2563
พิธีส่งมอบและแถลงข่าวกิจกรรมนำร่องระบบกักเก็บน้ำเพื่อวิสาหกิจชุมชนและราษฎร
วันที่ 15 มกราคม 2563 นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม (ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานพิธีส่งมอบและแถลงข่าวกิจกรรมนำร่องระบบกักเก็บน้ำเพื่อวิสาหกิจชุมชนและราษฎร พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสมเกียรติ ศรีษะเนตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นางสาวอัญชลีย์ เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 พิธีส่งมอบและแถลงข่าว จัดขึ้น ณ วิสาหกิจชุมชนศูนย์ส่งเสริมการตลาด ตำบลโพนทอง จังหวัดชัยภูมิ โดยการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเป็นมาตรการสำคัญและเร่งด่วนในการรับมือกับสถานการณ์วิกฤติภัยแล้งในภาคอุตสาหกรรม ได้มีการนำร่องระบบกักเก็บน้ำจำนวน 10 หมู่บ้านนำร่องในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ มุ่งหวังให้กลุ่มวิสาหกิจและราษฎรมีความพร้อมและสร้างความรับรู้การจัดเตรียมอุปกรณ์สำรองน้ำไว้ใช้เพื่อผลิต ประกอบการ และอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ผลของการดำเนินกิจกรรมฯ สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำกว่า 5,037,000 ลิตรต่อปี คิดเป็นมูลค่ากว่า 270,660 บาทต่อปี อีกทั้งยังสามารถลดการสูญเสียโอกาสในการเพิ่มยอดขายกว่า 22,000,000 บาทต่อปี
20 ม.ค. 2563