กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหรรม ร่วมป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
10 เมษายน 2563 นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำทีม กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหรรม ได้ดำเนินการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อภายในบริเวณอาคาร และรถยนต์ราชการ โดยได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท มือปราบไวรัส เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นอกจากนั้น กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ยังมีมาตรการในการคัดกรองผู้เข้ามาติดต่อราชการ รวมถึงคัดกรองเจ้าหน้าที่โดยขอความร่วมมือทุกท่านสวมหน้ากากอนามัย และตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าอาคาร ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่และผู้มาติดต่อราชการ
11 เม.ย. 2563
ประชุมหารือเรื่อง “แนวทางการเพิ่มศักยภาพการผลิตผลิตภัณฑ์เจลแอลกอฮอล์เพื่อรองรับมาตรการการป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19”
วันที่ 19 มีนาคม 2563 ณ ห้องประชุม สถาบันพลาสติกนายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับสถานบันพลาสติกและสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทยประชุมหารือเรื่อง “แนวทางการเพิ่มศักยภาพการผลิตผลิตภัณฑ์เจลแอลกอฮอล์เพื่อรองรับมาตรการการป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19” เพื่อบริจาคให้กับโรงพยาบาล
20 มี.ค. 2563
มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Coronavirus Disease Starting in 2019 (โควิด-19)
กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มีการเพิ่มมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Coronavirus Disease Starting in 2019 (โควิด-19) โดยบริเวณด้านหน้าทางเข้าอาคารกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายเจ้าหน้าที่ รวมถึงประชาชนที่เดินทางมาติดต่อราชการด้วยเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิแบบมือถือ (Hand Held Thermometer) พร้อมทั้งมีแอลกอฮอล์เจลล้างมือไว้คอยให้บริการ
20 มี.ค. 2563
สัมมนาเชิงวิชาการโครงการการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรด้านการวิจัยและพัฒนา
18 มีนาคม 2563 นายชัยรัตน์ แก้วด้วง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมนวัตกรรมอุตสาหกรรม กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนาเชิงวิชาการโครงการการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรด้านการวิจัยและพัฒนา ร่วมด้วย นายศิริศักดิ์ ฤทธิ์งาม ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบการผลิตอัตโนมัติ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กล่าวรายงานโดย รศ.ดร.เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์ หัวหน้าโครงการ พร้อมด้วยคณะแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราชพยาบาลและตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมคลัสเตอร์ หรือผู้ประกอบการ ที่เข้าร่วมโครงการ ณ โรงแรม มารวย การ์เด้น บางเขน กรุงเทพฯ ในกิจกรรมดังกล่าว มีการออกบูธผลิตภัณฑ์ของตัวแทนกลุ่มคลัสเตอร์ และแต่ล่ะกลุ่มได้นำเสนอผลงานต้นแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อแสดงถึงความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และได้รับความรู้ คำแนะนำในการเสวนาเชิงวิชาการ หัวข้อ "Design Thinking" และ หัวข้อ " มาตราฐานผลิตภัณฑ์และการจดทรัพย์สินทางปัญญา" ผ่านการถ่ายทอดจากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ตลอดระยะเวลาการเสวนา ผู้แทนกลุ่มคลัสเตอร์ ได้รู้และเข้าใจในผลิตภัณฑ์ของตัวเองและขั้นตอนในการได้มาซึ่ง ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร ฯลฯ เพื่อผลักดันและต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองและกลุ่มให้เป็นรูปธรรมต่อไป ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว ทางโรงแรมได้มีการเตรียมพร้อมในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-2019) โดยได้วัดไข้ พร้อมเจลล้างมือ และหน้ากากอนามัย ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
19 มี.ค. 2563
การชี้แจงในหัวข้อ การจัดทำแผนการขับเคลื่อน SME สู่ 4.0 (แผนปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน)
วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม 2563 นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและเจ้าหน้าที่กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงในหัวข้อ “การจัดทำแผนการขับเคลื่อน SME สู่ 4.0 (แผนปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน)” โดยนางอรพิน อุดมธนะธีระ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน และเจ้าหน้าที่กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 อาคารกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
19 มี.ค. 2563
ประชุมหารือแนวทางการบูรณาการแนวทางการพัฒนาและสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนในเชิงพาณิชย์
วันที่ 4 มีนาคม 2563 นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ผสานความร่วมมือกับ ว่าที่ร้อยตรี พงษ์ศักดิ์ เรืองศรีใส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ร่วมกับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และ อุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชุมหารือแนวทางการบูรณาการแนวทางการพัฒนาและสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนในเชิงพาณิชย์ โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชจะเป็นจังหวัดนำร่องในการบูรณาและขยายผลในมหาวิทยาราชภัฏทั่วประเทศต่อไป (มอน. Model)
05 มี.ค. 2563
การเยี่ยมชมและวินิจฉัยเบื้องต้นด้านความต้องการของสถานประกอบการ ณ บริษัทซีเฟรช อินดัสตรี จำกัด (มหาชน)
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 กลุ่มพัฒนาระบบอัตโนมัติ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นำโดยนายบรรเทา ว่องประชานุกูล นายช่างเทคนิคอาวุโสและคณะ ได้ทำการเยี่ยมชมและวินิจฉัยเบื้องต้นด้านความต้องการของสถานประกอบการ ณ บริษัทซีเฟรช อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เบื้องต้นทางสถานประกอบการประสบปัญหาด้านพนักงานฝ่ายผลิตจำนวนมาก ซึ่งมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ส่งผลให้เสียค่าจ้างบุคคลากรและพนักงานฝ่ายผลิตสูงเป็นจำนวนกว่า 20 ล้านบาทต่อปีทำให้ทางสถานประกอบการต้องการนำระบบอัตโนมัติมาใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านดังกล่าว
18 ก.พ. 2563
หารือการนำนวัตกรรมทางการแพทย์จาก MTMU pilot plant Project มหาวิยาลัยมหิดล
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้แทน กน.กสอ. ร่วมหารือการนำนวัตกรรมทางการแพทย์จาก MTMU pilot plant Project มหาวิยาลัยมหิดล โดยมี รศ.ดร.กุลชาติ จังภัทรพงศา รองคณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล คุณเกียรติศักดิ์ นายกสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย คุณชาญชัย เลขาธิการสมาคม เพื่อหาแนวทางความร่วมมือการผลิตเครื่องมือและชุดทดสอบทางการแพทย์ เช่น ชุดทดสอบโรคฉี่หนู (z-sure LeptospiralgM test) ชุดทดสอบยาฆ่าแมลง ชุดตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก ไซริ้ง เพื่อทดแทนการนำเข้า ภายใต้กิจกรรมการสร้างเครือข่ายศูนย์ทดสอบเครื่องมือแพทย์
14 ก.พ. 2563
การชี้แจงเพื่อประชาสัมพันธ์การรับสมัครคัดเลือกอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ปี 2564 ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม (Innnovative SME)
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้แทน กน.กสอ. เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม 302 กน.กสอ. กล้วยน้ำไท ชี้แจงเพื่อประชาสัมพันธ์การรับสมัครคัดเลือกอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ปี 2564 ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม (Innnovative SME) ให้กับสถาบันเครือข่ายสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่ออธิบายหลักเกณฑ์การสมัคร ขั้นตอนการประเมินคัดเลือก และขั้นตอนการตรวจประเมิน โดยได้รับความร่วมมือด้วยดีจากผู้แทนหน่วยงาน เช่น ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ สถาบันพลาสติก สถาบันไทยเยอรมัน สถาบันยานยนต์ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ โดยที่ประชุมเสนอให้มีการจัดปรึกษาแนะนำด้านการต่อยอดนวัตกรรม การขอสินเชื่อสนับสนุน และการจัดทำ Directory การ coaching ผู้สมัคร เพื่อดึงดูดให้มีผู้สมัครมากขึ้นและเป็นการส่งเสริมและพัฒนา SMEs ให้มีการพัฒนานวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น
14 ก.พ. 2563
ลงพื้นที่ไร่อ้อยจังหวัดสุพรรณบุรี รับฟังปัญหาจากเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย
5 กุมภาพันธ์ 2563 นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายทวีสิทธิ์ บัวมี ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ไร่อ้อยจังหวัดสุพรรณบุรี รับฟังปัญหาจากเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย พร้อมให้แนวทางในการพัฒนา รถตัดอ้อยแบบลำ "คนไทยประดิษฐ์" ของนายอานนท์ ภาวนา (ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาวนายนต์ ด่านช้าง) ซึ่งเป็นหนึ่งทางเลือกของการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเผาไร่อ้อย ส่งผลกระทบที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm 2.5 ปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน และสามารถทดแทนการนำเข้ารถตัดอ้อยจากต่างประเทศที่มีราคาสูง รถตัดอ้อยแบบลำสามารถต่อพ่วงกับรถไถได้ทุกชนิด ช่วยลดต้นทุนด้านแรงงาน และเพิ่มราคาขายต่อโรงงานเพื่อผลิตเป็นน้ำตาล รวมทั้งให้แนวทางในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
06 ก.พ. 2563