กน.กสอ. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก สถานประกอบการ DIPROM MEDICAL EQUIPMENT" ลงพื้นที่ติดตามกิจกรรม”ส่งเสริมการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่อุตสาหกรรม และบริการทางการแพทย์” ณ บริษัท เอ็น เค แลบอรารี่(ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดนนทบุรี
กน.กสอ. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก สถานประกอบการ DIPROM MEDICAL EQUIPMENT" วันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2565 นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มอบหมายให้กลุ่มส่งเสริมนวัตกรรมอุตสาหกรรม โดยนายประยูร ป้องพาล นายช่างเทคนิคอาวุโสและเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยทีมงานที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ติดตามกิจกรรม”ส่งเสริมการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่อุตสาหกรรม และบริการทางการแพทย์” ณ บริษัท เอ็น เค แลบอรารี่(ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดนนทบุรี เพื่อรับฟังประเด็นและประเมินปัญหาของสถานประกอบการ ให้คำแนะนำในการปรับปรุงด้านต่างๆ พร้อมทั้งสอบถามความต้องการเพิ่มเติม ที่สถานประกอบการอยากให้ กสอ. ช่วยในกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ในด้านใดต่อไป ชุดสกัดสารประกอบและน้ำมันหอมระเหยจากพืชเพื่อใช้ทางการแพทย์แผนไทย -เป็นเครื่องที่สามารถแยกสารประกอบของพืชได้จากจุดเดือดของสารประกอบ โดยใช้น้ำบริสุทธิ์ -มีผู้ผลิตและทีมแพทย์สนับสนุนวิจัยพัฒนา -มีการรวมตัวของผู้ประกอบการแต่ละด้านช่วยกันพัฒนา -สามารถใช้งานโดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลายทำให้สารที่ได้บริสุทธิ์ -สามารถสร้างรายได้ในการแปรรูปสมุนไพรพวกสารระเหยให้กับเกษตรได้ โอกาสในการแข่งขัน ขนาดเล็กสกัดได้สารประกอบเยอะ คิดค้นและผลิตจากงานวิจัยโดยคนไทย
09 ส.ค 2565
วันที่ 8 สิงหาคม 2565 SHAP AGENTS กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นตัวแทนมอบสื่อ "โครงที่การงดเหล้าเข้าพรรษา" ให้กับบริษัท ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปรดัคส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คิว-คอน อีสเทอร์น จำกัด และบริษัท สเตติค แวน เวลดิ้ง จำกัด
วันที่ 8 สิงหาคม 2565 SHAP AGENTS กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นำโดย นายบรรเทา ว่องประชานุกูล นายช่างเทคนิคอาวุโส นางสาวกมลวรรณ ไชยมงคล นักวิชาการอุตสาหกรรม และนางสาวณัฐพัสวี พจน์ประสาท จนท.ปฎิบัติงานการพัฒนาอุตสาหกรรม เป็นตัวแทนมอบสื่อ "โครงที่การงดเหล้าเข้าพรรษา" ให้กับบริษัท ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปรดัคส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คิว-คอน อีสเทอร์น จำกัด และบริษัท สเตติค แวน เวลดิ้ง จำกัด
08 ส.ค 2565
วันนี้ (8 สิงหาคม 2565) นายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมและหารือความร่วมมือการร่วมดำเนินโครงการนำร่องศูนย์แปรรูปพืซกัญชงให้เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้นกลาง
วันนี้ (8 สิงหาคม 2565) นายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมและหารือความร่วมมือการร่วมดำเนินโครงการนำร่องศูนย์แปรรูปพืซกัญชงให้เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้นกลางสำหรับเกษตรกรและอุตสาหกรรมรายย่อย ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทลัยแม่โจ้ และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย พร้อมทีมงานโครงการ ให้การต้อนรับ โดยมีนายนิรันดร์ จตุไพบูลย์ วิศวกรชำนาญการ เป็นผู้แทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเข้าร่วมด้วย โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ต้องการส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปกัญชง ผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ไทย โดยได้ประสานกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มีองค์ความรู้ในแต่ละด้านในการร่วมกันดำเนินงาน โดยหารือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อร่วมกันดำเนินการโครงการนำร่องศูนย์แปรรูปพืชกัญชงให้เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้นกลางสำหรับเกษตรกรและอุตสาหกรรมรายย่อย ให้เกิดเป็นรูปธรรม จากนั้น คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์ทดสอบ วิจัยและพัฒนากัญชงอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยรับฟังสรุปการผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ชมพื้นที่การปลูกกัญชงกลางแจ้ง การปลูกในโรงเรือน และการแปรรูปช่อดอกกัญชงเบื้องต้น (การลดความชื้น) ณ พื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นอีกโครงการของมหาวิทยาลัยที่ดำเนินการเพื่อเตรียมต่อยอดในทางอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต วันนี้ (8 สิงหาคม 2565) นายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมและหารือความร่วมมือการร่วมดำเนินโครงการนำร่องศูนย์แปรรูปพืซกัญชงให้เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้นกลางสำหรับเกษตรกรและอุตสาหกรรมรายย่อย ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทลัยแม่โจ้ และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย พร้อมทีมงานโครงการ ให้การต้อนรับ โดยมีนายนิรันดร์ จตุไพบูลย์ วิศวกรชำนาญการ เป็นผู้แทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเข้าร่วมด้วย โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ต้องการส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปกัญชง ผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ไทย โดยได้ประสานกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มีองค์ความรู้ในแต่ละด้านในการร่วมกันดำเนินงาน โดยหารือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อร่วมกันดำเนินการโครงการนำร่องศูนย์แปรรูปพืชกัญชงให้เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขั้นกลางสำหรับเกษตรกรและอุตสาหกรรมรายย่อย ให้เกิดเป็นรูปธรรม จากนั้น คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมศูนย์ทดสอบ วิจัยและพัฒนากัญชงอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยรับฟังสรุปการผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ชมพื้นที่การปลูกกัญชงกลางแจ้ง การปลูกในโรงเรือน และการแปรรูปช่อดอกกัญชงเบื้องต้น (การลดความชื้น) ณ พื้นที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นอีกโครงการของมหาวิทยาลัยที่ดำเนินการเพื่อเตรียมต่อยอดในทางอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต
08 ส.ค 2565
DIPROM ต้อนรับเทรนด์แห่งอนาคต 4.0 ถ่ายทอดองค์ความรู้ Low Cost Automation (Karakuri) ภายใต้โมเดล BCG ผ่านระบบโลกเสมือนจริง (Metaverse) "สัมมนา TPS / Karakuri Kaizen ผ่านระบบโลกเสมือนจริง (Karakuri Metaverse)" วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2565 ผ่านระบบ Metaverse
DIPROM ต้อนรับเทรนด์แห่งอนาคต 4.0 ถ่ายทอดองค์ความรู้ Low Cost Automation (Karakuri) ภายใต้โมเดล BCG ผ่านระบบโลกเสมือนจริง (Metaverse) "สัมมนา TPS / Karakuri Kaizen ผ่านระบบโลกเสมือนจริง (Karakuri Metaverse)" วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2565 ผ่านระบบ Metaverse ดร. ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นตัวแทนในการเปิดการสัมมนาฯ โดยมีนายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วมสัมมนาฯ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นายวรวุฒิ วิศิษฎ์บัณฑิตกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจใหม่กลุ่มสายงานการผลิต และ นายไชยยศ ตัณฑ์จิตานนท์ หัวหน้างานอาวุโส ฝ่ายผลิต ร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ “ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System) และเทคโนโลยี Karakuri Kaizen การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง” ผ่านระบบโลกเสมือนจริง (Metaverse) โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมในงานสัมมนาฯ จำนวนกว่า 50 คน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นว่า ผู้ประกอบการที่เข้ารับการสัมมนาจะสามารถนำความรู้ความเข้าใจไปบริหารจัดการและต่อยอดในธุรกิจอุตสาหกรรมของตน เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไร ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อไป #DIPROM #ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล #Metaverse #TPS #Karakuri Kaisen
04 ส.ค 2565
DIPROM กน.กสอ.และเจ้าหน้าที่ร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่บริเวณโดยรอบสำนักงานอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมจิตอาสา เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติ
DIPROM กน.กสอ.และเจ้าหน้าที่ร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่บริเวณโดยรอบสำนักงานอันเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมจิตอาสา เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติ
25 ก.ค. 2565
DIPROM จับมือ บริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (ไทยแลนด์) จำกัด เดินหน้าเชิงรุกยกระดับการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ด้วยเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติและดิจิทัล "สัมมนา มุมมองการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และดิจิทัล สู่ระบบการผลิตสมัยใหม่ Now Normal
DIPROM จับมือ บริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (ไทยแลนด์) จำกัด เดินหน้าเชิงรุกยกระดับการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ด้วยเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติและดิจิทัล "สัมมนา มุมมองการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และดิจิทัล สู่ระบบการผลิตสมัยใหม่ Now Normal to Next Normal" วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2565 ณ ห้อง Sapphire 202 ชั้น 2 อาคาร Impact Forum ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ดร. ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นตัวแทนในการกล่าวเปิดการสัมมนาฯ โดยมีนายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม นางเกษสุดา ดอนเมือง ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วมสัมมนาฯ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายเผดิมศักดิ์ รัตนเรืองศักดิ์ รองประธานกรรมการ บริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (ไทยแลนด์) จำกัด และผู้บริหาร ร่วมถ่ายทอด เทคโนโลยี IIoT และนวัตกรรมดิจิทัล ด้านการบริหารโรงงานอุตสาหกรรม และนำเสนอนวัตกรรมเฉพาะทางของ บริษัทฯ ผ่าน Innovation Bus หลังจากการสัมมนาฯ ในวันนี้ เรายังมีกิจกรรมต่อเนื่องร่วมกับบริษัทฯ ในการค้นหาดาวเด่นที่พัฒนาต่อยอดในการพัฒนากระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติและดิจิทัล เพื่อส่งต่อเข้าร่วมกิจกรรมในปีงบประมาณ 2566 ของกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ต่อไป #ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล #IIoT #DIPROM #ชไนเดอร์
23 ก.ค. 2565
"ดีพร้อม เตรียมความพร้อมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงตามแนวคิดความเป็นกลางทางคาร์บอน" (DIPROM EV Conversion for Carbon Neutrality) วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม​ 2565 ณ บริษัท อีวีคาร์ (ไทยแลนด์)​ จำกัด และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
"ดีพร้อม เตรียมความพร้อมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงตามแนวคิดความเป็นกลางทางคาร์บอน" (DIPROM EV Conversion for Carbon Neutrality) วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2565 ณ บริษัท อีวีคาร์ (ไทยแลนด์) จำกัด และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายชัยรัตน์ แก้วด้วง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมนวัตกรรมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายทิฆัมพร ชิณวงศ์ นายช่างเทคนิคอาวุโส นายจำลอง นิโรจรัมย์ นายช่างเทคนิคอาวุโส นายณฐกร วงษา วิศวกรชำนาญการ นายเฉลิมชาติ เสาวรัจ วิศวกรปฏิบัติการ นายชัยยา ศรีโสภา พนักงานเทคนิคอุสาหกรรม ส.3 และนายอนุวัฒน์ เกิดภิญโญ ช่างเครื่องมือกล ดำเนินการสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ณ บริษัท อีวีคาร์ (ไทยแลนด์) จำกัด จ.ปทุมธานี และหารือแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
23 ก.ค. 2565
กน.กสอ. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก สถานประกอบการ DIPROM MEDICAL EQUIPMENT" วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2565 ลงพื้นที่ติดตาม กิจกรรม”ส่งเสริมการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่อุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์” ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีร
กน.กสอ. ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก สถานประกอบการ DIPROM MEDICAL EQUIPMENT" วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2565 นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มอบหมายให้กลุ่มส่งเสริมนวัตกรรมอุตสาหกรรม โดยนายประยูร ป้องพาล นายช่างเทคนิคอาวุโส และเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยทีมงานที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยรังสิต ลงพื้นที่ติดตาม กิจกรรม”ส่งเสริมการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่อุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์” ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งดำเนินการร่วมกับบริษัท บึงทอง เทค จำกัด จังหวัดชลบุรี และบริษัท เมดิเทค เซอร์วิส แอนด์ ซัพพลาย จำกัด จังหวัดระยอง เพื่อรับฟังประเด็นปัญหาของสถานประกอบการ ประเมินปัญหาของสถานประกอบการ ให้คำแนะนำในการปรับปรุงด้านต่างๆ พร้อมทั้งสอบถามถึงปัญหาที่สถานประกอบการอยากให้ กสอ. ช่วยในกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกในด้านใดต่อไป อุปกรณ์แท่นวางเครื่อง IV ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ : รูปทรงฐานเคลื่อนที่รอบทิศทางได้ดี และฐานสามารถเรียงเก็บช้อนกันได้สะดวกเป็นระเบียบลดพื้นที่ในการเก็บ และยังไม่มีใครผลิตรูปทรงฐานในลักษณะนี้ในประเทศ ระบบช่วยประเมินการลงทุนจำนวนเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีสุขภาพในสถานพยาบาล : ระบบอิงตามกฏหมายของประเทศไทย และสะดวกต่อการใช้งาน
22 ก.ค. 2565
"กรมส่งเสริมอุตสหกรรมเพิ่มผลิตภาพด้วยเทคโนโลยี​และนวัตกรรมในอุตสาหกรรมยานยนต์​" ดำเนินการติดตามการดำเนินงานกิจกรรม "เพิ่มผลิตภาพด้วยเทคโนโลยี​และนวัตกรรม"
"กรมส่งเสริมอุตสหกรรมเพิ่มผลิตภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมยานยนต์" วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2565 นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายทิฆัมพร ชิณวงศ์ นายช่างเทคนิคอาวุโส พร้อมด้วย นายเฉลิมชาติ เสาวรัจ วิศวกรปฏิบัติการ นายเริงณรงค์ จ้อยจินดา พนักงานเทคนิคอุสาหกรรม ส.3 และนางสาวธนัญญา มณีรัตน์ นักวิชาการอุตสาหกรรม ดำเนินการติดตามการดำเนินงานกิจกรรม "เพิ่มผลิตภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม" ภายใต้กิจกรรมพัฒนาสถานประกอบการ โครงการ 11.1-1 การพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพและยกระดับสถานประกอบการให้สามารถเพิ่มผลิตภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ณ บริษัท คอร์เนลโพลิเมอร์ จำกัด จ.สมุทรปราการ บริษัท ทองไชยอุตสาหกรรม จำกัด จ.ฉะเชิงเทรา และบริษัท ไทยคิน อินดัสตรี (ไทยแลนด์) จำกัด
19 ก.ค. 2565
“DIPROM” เตรียมพร้อมความร่วมมือการพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ Smart Monodzukuri/LASI/LIPE พร้อมให้บริการแก่ SMEs ไทย
“DIPROM” เตรียมพร้อมความร่วมมือการพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ Smart Monodzukuri/LASI/LIPE พร้อมให้บริการแก่ SMEs ไทย วันนี้ (19 กรกฎาคม 2565) นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม นำทีม กสอ. โดยมี นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน นายรักษ์ เจริญศิริ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาบริการธุรกิจอุตสาหกรรม นายกิตติโชติ ศุภกำเนิด ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมมาตรฐานเทคโนโลยีการผลิตและผลิตภัณฑ์ และเจ้าหน้าที่ กสอ. เข้าร่วมประชุมหารือระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ร่วมกับหน่วยงาน AOTS - JAPAN และผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น ถึงกรอบแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมการพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนผู้เชี่ยวชาญในหลักสูตรต่างๆ เช่น Smart Monodzukuri/LIPE/LASI ให้มีทักษะ และความเชี่ยวชาญพร้อมให้บริการแก่ SMEs ไทย ในสาขาอุตสาหกรรมดังกล่าวข้างต้น เพื่อพร้อมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพภาคการผลิตของอุตสาหกรรมไทยให้มีความเข้มแข็งพร้อมก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ต่อไป
19 ก.ค. 2565